ประวัติความเป็นมา

สภาการแพทย์แผนไทย

.

พุทธศักราช 2476

เกิดตราพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ

พุทธศักราช 2479

ได้ประกาศใช้บังคับแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อ “สำนักงานคณะกรรมการแพทย์” เป็น “ สำนักงานเลขาธิการนายทะเบียนคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ”

พุทธศักราช 2485

ประกาศตั้ง “กระทรวงสาธารณสุข”

พุทธศักราช 2495

ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมขึ้น เปลี่ยนชื่อจาก “กระทรวงการสาธารณสุข” เป็น “กระทรวงสาธารณสุข” และได้จัดแบ่งส่วนราชการใหม่ขึ้น โดยเปลี่ยนจาก “สำนักเลขาธิการนายทะเบียนคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ” เป็น “กองควบคุมการประกอบโรคศิลปะ”

พุทธศักราช 2517

กองควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กองการประกอบโรคศิลปะ” แบ่งการบริการงานเป็น 3 งาน คือ งานการประกอบโรคศิลปะ งานสถานพยาบาล และ งานธุรการ หน้าที่หลักของกองการประกอบโรคศิลปะ

พุทธศักราช 2541

ประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบ โรคศิลปะ พ.ศ. 2542

พุทธศักราช 2542

แยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พุทธศักราช 2479 มีพระราชบัญญัติโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ทำให้การแพทย์แผนโบราณเปลี่ยนชื่อเป็น สาขาการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วยประเภทเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย และการนวดไทย และยังประกอบด้วยสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์

พุทธศักราช 2545

เกิดกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

พุทธศักราช 2556

เกิดสภาการแพทย์แผนไทย

ข่าวล่าสุด

ประวัติความเป็นมา

สภาการแพทย์แผนไทย

.

พุทธศักราช 2476

เกิดตราพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ

พุทธศักราช 2479

ได้ประกาศใช้บังคับแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อ “สำนักงานคณะกรรมการแพทย์” เป็น “ สำนักงานเลขาธิการนายทะเบียนคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ”

พุทธศักราช 2485

ประกาศตั้ง “กระทรวงสาธารณสุข”

พุทธศักราช 2495

ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมขึ้น เปลี่ยนชื่อจาก “กระทรวงการสาธารณสุข” เป็น “กระทรวงสาธารณสุข” และได้จัดแบ่งส่วนราชการใหม่ขึ้น โดยเปลี่ยนจาก “สำนักเลขาธิการนายทะเบียนคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ” เป็น “กองควบคุมการประกอบโรคศิลปะ”

พุทธศักราช 2517

กองควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กองการประกอบโรคศิลปะ” แบ่งการบริการงานเป็น 3 งาน คือ งานการประกอบโรคศิลปะ งานสถานพยาบาล และ งานธุรการ หน้าที่หลักของกองการประกอบโรคศิลปะ

พุทธศักราช 2541

ประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบ โรคศิลปะ พ.ศ. 2542

พุทธศักราช 2542

แยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พุทธศักราช 2479 มีพระราชบัญญัติโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ทำให้การแพทย์แผนโบราณเปลี่ยนชื่อเป็น สาขาการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วยประเภทเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย และการนวดไทย และยังประกอบด้วยสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์

พุทธศักราช 2545

เกิดกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

พุทธศักราช 2556

เกิดสภาการแพทย์แผนไทย

ตราสภาการแพทย์แผนไทย

ความหมายของโลโก้สภาการแพทย์แผนไทย

พยานาค ๒ ตน

หมายถึง ความทรงพลัง การคงไว้ซึ่งความรู้และปัญญา นัยยะของพญานาค ๒ ตน หมายถึง สาขาแพทย์แผนไทย และสาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่ช่วยกันทำนุบำรุงส่งเสริมศาสตร์การแพทย์แผนไทยให้คงอยู่ตลอดไป

หม้อยา

หมายถึง สัญลักษณ์ที่แสดงเอกลักษณ์ของการประกอบโรคศิลปะของการแพทย์แผนไทย คือ การจ่ายยาต้มที่ต้องใช้ความรู้และศิลปะในการปรุงยา โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ตัวยาต่าง ๆ เพื่อรักษาโรคภัยให้หายขาด

เฉลว

หมายถึง ไม้จักสานที่ติดบนหม้อยา มีความเชื่อว่าเป็นการรักษาคุณภาพของเครื่องยาสำหรับ ๕ แฉกนั้น หมายถึง การเสกคาถานโมพุทธายะ (พระเจ้า ๕ พระองค์) ความหมายโดยนัยคือ การรักษาชีวิตคน ๆ หนึ่ง ต้องมองชีวิตอย่างองค์รวมด้วยหลักขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)

รัศมีเปล่งประกายเฉลว

หมายถึง ความสว่างไสว ยิ่งใหญ่ ของแพทย์แผนไทยที่จะต้องคงอยู่ในการดูแลชีวิตมนุษย์นับจากนี้เป็นต้นไป

ตราสภาการแพทย์แผนไทย

ความหมายของโลโก้สภาการแพทย์แผนไทย

พยานาค ๒ ตน

หมายถึง ความทรงพลัง การคงไว้ซึ่งความรู้และปัญญา นัยยะของพญานาค ๒ ตน หมายถึง สาขาแพทย์แผนไทย และสาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่ช่วยกันทำนุบำรุงส่งเสริมศาสตร์การแพทย์แผนไทยให้คงอยู่ตลอดไป

หม้อยา

หมายถึง สัญลักษณ์ที่แสดงเอกลักษณ์ของการประกอบโรคศิลปะของการแพทย์แผนไทย คือ การจ่ายยาต้มที่ต้องใช้ความรู้และศิลปะในการปรุงยา โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ตัวยาต่าง ๆ เพื่อรักษาโรคภัยให้หายขาด

เฉลว

หมายถึง ไม้จักสานที่ติดบนหม้อยา มีความเชื่อว่าเป็นการรักษาคุณภาพของเครื่องยาสำหรับ ๕ แฉกนั้น หมายถึง การเสกคาถานโมพุทธายะ (พระเจ้า ๕ พระองค์) ความหมายโดยนัยคือ การรักษาชีวิตคน ๆ หนึ่ง ต้องมองชีวิตอย่างองค์รวมด้วยหลักขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)

รัศมีเปล่งประกายเฉลว

หมายถึง ความสว่างไสว ยิ่งใหญ่ ของแพทย์แผนไทยที่จะต้องคงอยู่ในการดูแลชีวิตมนุษย์นับจากนี้เป็นต้นไป

วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่

วัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

(๑) ส่งเสริมการศึกษา การพัฒนา การวิจัย การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบอาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
(๒) ควบคุม กำกับ ดูแล และกำหนดมาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการประกอบอาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
(๓) ควบคุมความประพฤติ จริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการประกอบอาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ให้เป็นไปตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
(๔) ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย
(๕) ให้คำปรึกษา หรือ ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย
(๖) ส่งเริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก
(๗) ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรม และส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก
(๘) เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการประกอบอาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

อำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผูเขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบอาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
(๒) ออกคำสั่งตามมาตรา ๔๕
(๓) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือ วุฒิบัตรในวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของสถาบันต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก
(๔) รับรองหลักสูตรสำหรับการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในด้านต่างๆ ของวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมดังกล่าว
(๕) รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมใน (๔)
(๖) ออกหนังสืออนุมัติ หรือ วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการประกอบอาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
(๗) จัดทำแผนการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อสภานายกพิเศษอย่างน้อยปีละครั้ง
(๘) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถประสงค์ของสภาการแพทย์แผนไทย
(๙) บริหารกิจการใดๆ ตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจนกิจการใดๆ ของสภาการแพทย์แผนไทย